บทความนี้ได้แรงบันดาลใจ จากชีวิตจริง ความเป็นมาที่ เพาะบ่มจากความไม่รู้ นั่นคือ กระเป๋า ฉีก กระฉูด
ไอ้เราเป็นมนุษย์เงินเดือน ธรรมดา ที่ชอบเล่นเน็ต ยามที่ Boss เดินห่างจากโต๊ะ Office. ชีวิตชอบ ความเพลิน บวกกับเป็นสาวมั่นอย่างลึกๆ ในแบบฉบับ ปัจเจกที่เราเป็น
(อับเดทตอนใหม่) โกนขน ชีวิตพัง !! ฮือๆ T__T )
สวยใสไร้ขน ผิวผ่อง ในแบบที่สาวๆ อย่างฉันต้องการ
เอาเข้าจริง ย้อนไปสมัยมหาลัย ตั้งแต่ ที่เราอกหักจากรักแรกพบ อะไรเทือกนั้น ชีวิตความเป็นมา ในความทรงจำช่วงวัยเยาว์ในรั้วมหาลัย ทำให้เราบ้างก็จำฝังใจ อย่างเช่น เรื่องของ ขนตามร่างกาย ขนที่ใบหน้า จรดไปที่ ขนตรงส่วนของน้องสาว (จิ๊มิ) เรื่องส่วนตัว ที่เราวัยสาว เริ่มให้ความสำคัญ มันไม่ใช่แค่ แฟชั่น หรือกระแสนิยม โดยส่วนตัวแล้ว ศึกษาลึกๆมามากพอสมควร เพราะเป็นพวกคลั่งไคล้ การค้นหาข้อมูลในเน็ต โดยเฉพาะช่วงมหาลัย ที่ทำรายงาน เป็นตั้งๆ ยุคสมัยปี 3 ปี 4 ที่อยู่ห้องสมุดกับเพื่อนๆ สาวๆ ร่วมก๊วน 5-6 คนอย่างเงียบๆ
เริ่มคิด กำจัดขน เพราะเปิดใจกับเพื่อนสมัย มหาลัยฯ
เคยได้มีโอกาส ฟังบรรยาย ในเรื่อง วัฒนธรรมชนเผ่าโบราณ และวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ จากสมัยโบราณ เนิ่นนานมา ทำให้เราเข้าใจ meaning ความเชื่อ ทางสังคม ที่เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ คน เริ่มห่างจาก ลิงไร้หาง ทำให้เพศชาย มีสัญลักษณ์ ที่ทรงพลัง ในขณะที่ผู้หญิง ต้องสร้าง Identity ของความบอบบาง และ ต้องการ การปกป้อง และอีกสิ่งหนึ่ง ที่พอจำเป็นเค้าลาง คือเรื่องของ “ขน” ตามร่างกาย ก็มีวิวัฒนาการของมัน ตอนเรียนอยู่สมัยมัธยม เราเองก็เคยคิด แต่ไม่ได้หาคำตอบ ว่าทำไม คนจึงไร้ขน ในขณะที่ ลิง นั้นมีขนรกรุงรัง เต็มตัวไปหมด แล้วก็เริ่มมีคำถามกลับมาในใจว่า “ขน” ของคน เริ่มหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วมันหายไปได้ยังไงกันนะ ?? !!
พอมาฟังข้อสมมุติฐานทางโบราณคดี หรือทางประวัติศาสตร์ เราเองอาจเป็นไปได้ว่า ช่วงหนึ่งของยุคที่คนเริ่มห่มกายจากความ เปลือยเปล่า ด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ ทำให้ สิ่งหนึ่ง ที่เป็นมรดกตกทอด ของยุคโบราณ คือเรื่อง ปรสิตตามขนของเรา และ โรคติดต่อ ที่มาจากปรสิตเหล่านั้น
นั่นจึงเป็นเส้นขั้น หรือ กรอบขอบเขตของวิวัฒนาการซ้ำๆ ต่อเนื่องมาเกี่ยวกับขนของเรา ก็คือ สมาชิก ที่มียีน ที่มีขนมาก ปกคลุมตัว ทำให้ร่างกาย ปรับตัวกับ สังคมใหม่ๆ ได้ด้อยกว่าคนที่มียีนส์ ทางพันธุกรรมที่มีคนน้อยกว่า พอตกมาหลายๆรุ่น ยีนส์ ที่มีขนน้อยกว่า ทางพันธุกรรม เริ่มขยายประชากร ผลิตซ้ำๆ มีโอกาสรอดมากกว่าในสภาวะแวดล้อมใหม่
พอยุคเวลาผ่านไป คนที่มีขนมากกว่าเพื่อนๆ ในเผ่า เริ่มถูกมองเป็นตัวด้อยกว่าในกลุ่ม นี่คือจิตวิทยาทางสังคมในช่วงวิวัฒนาการเริ่มแรกของมนุษย์ ที่เข้าใจอย่างพอสังเขป
จนมาปัจจุบัน 2017 เราก็เลย ยังคงมีความเชื่อฝังใจ โดยเฉพาะคุณลักษระของเพศหญิง ที่ต้องแลดูผิวพรรณงดงาม และ ปราศจากขกรกรุงรัง เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ ที่ห่างจากสภาพของเพศชาย
นี่คือจุดแรกๆ ที่เราก็เริ่ม มองตัวเอง ว่าถ้าปลอดขน ไร้ขน น่าจะดูเนียนและผ่องใสมากยิ่งขึ้น
เลยถามเพื่อนๆ ในกลุ่มแชร์ความคิดเห็นกันบ้างยามดึกๆ ตามประสาเพื่อนซี้ ก็พบว่า สาวๆ ในรุ่นราวคราวเดียวกับเรา ก็ให้ความสำคัญของ อัตลักษณ์ของเส้นขนในร่างกาย เช่นเดียวกับเรา